Science

รายวิชาวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่อง เครื่องขัดเงินขัดทองเหลือง
บทคัดย่อ
        การทำความสะอาดเครื่องเงินและเครื่องทองเหลืองนั้นเป็นการทำความสะอาดได้ง่ายแต่วิธีที่จะทำให้ได้ความเงาหรือความใหม่ขึ้นนั้นทำได้ยากซึ่งในปัจจุบันนี้ก็อาศัยสารเคมีในการทำความสะอาดเช่น การซื้อวิคครีมมาขัดซึ่งเป็นสารเคมี และมีราคาแพงระดับหนึ่งซึ่งทำให้สิ้นเปลืองยิ่งขณะนี้เศรษฐกิจและมลพิษมีอยู่มากมายในชีวิตประจำวัน ทางผู้จัดทำเลยหัดมาผลิตครีมที่สามารถนำมาใช้ขัดเครื่องเงินและเครื่องทองเหลืองได้โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ตามบ้านโดยไม่สิ้นเปลืองเงินโดยใช่เหตุและยังสามารถลดจำนวนเงินที่ใช้ได้ระดับหนึ่ง ซึ่งประสิทธิภาพนั้นก็เท่าๆกับวิคครีมที่ขายตามท้องตลาด จะเห็นได้จากคุณสมบัติของวัสดุที่เรานำมาผลิต ดังนี้
1) ยาสีฟัน ซึ่งมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนคราบ
2)
 น้ำส้มสายชู ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเช็ดกระจก
3)
 น้ำมันมะกอก ซึ่งมีความมันวาวและมีกลิ่นที่หอม



 
กิตติกรรมประกาศ
      เนื่องจากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ครีมขัดเครื่องเงินเครื่องทองเหลืองนั้น ต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจ ทางผู้จัดทำจึงได้สอบถามข้อมูลจากคุณครูที่ปรึกษาและได้ข้อมูลจากInternetส่วนหนึ่ง และได้รับความร่วมมือจากเพื่อนในกลุ่มที่ตั้งใจทำโครงงานชิ้นนี้จนบรรลุเป้าหมายได้ และในด้านอุปกรณ์และวัสดุต่างๆด้านผู้จัดทำขอขอบพระคุณ คุณป้าที่ได้ให้น้ำส้มสายชูมาใช้ในการผลิตครีมขัดเครื่องเงินเครื่องทองเหลือง และขอขอบคุณคุแม่ที่เอื้ออำนวยสถานที่ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย


 

ที่มาและความสำคัญ
     เนื่องจากในขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีและมีมลพิษเยอะมาก ทางผู้จัดทำได้คิดหาสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์และไม่มีสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องและมีประสิทธิภาพเท่าๆกับสิ่งที่มีราคาแพงขึ้นมา ซึ่งการประดิษฐ์ครีมขัดเครื่องเงินเครื่องทองเหลืองนี้ขึ้นมาสามารถลดการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันกับสินค้าสิ้นเปลืองและมีราคาแพงได้ระดับหนึ่ง และหากไม่มีการคิดค้นหรือประดิษฐ์ครีมขัดเครื่องเงินเครื่องทองเหลืองนี้มา เราก็จะไม่รู้ประโยชน์ของสิ่งที่มีอยู่แล้วในบ้านและคงไม่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในยุคเศรษฐกิจไม่ดีเช่นนี้ได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อลดการใช้จ่ายกับสินค้าที่สิ้นเปลืองราคา
2.เพื่อเป็นการให้ความรู้กับผู้ศึกษาในเรื่องประโยชน์ของสิ่งที่อยู่รอบตัว
 3.เพื่อใช้ของที่มีอยู่ในบ้าน หรือหาได้ง่ายราคาถูกมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
4.เพื่อศึกษาหาประสิทธิภาพของสิ่งประดิษฐ์ที่ทำขึ้น

สมมติฐาน
        น้ำส้มสายชูสามารถนำมาเช็ดกระจกได้และยาสีฟันมีฤทธิ์กัดกร่อนคราบและน้ำมันมะกอกมีความแวววาวและมีกลิ่นหอม เมื่อนำ 3 อย่างเหล่านนี้มารวมกันจะสามารถนำมาขัดเครื่องเงินเครื่องทองเหลืองได้มีประสิทธิภาพเท่าๆกับวิคครีมในท้องตลาด



ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น ยาสีฟัน
ตัวแปรตาม ครีมขัดเครื่องทอง - เงิน
ตัวแปรควบคุม ปริมานของ น้ำมันมะกอก น้ำส้มสายชู ยาสีฟัน
ขอบเขตในการศึกษาค้นคว้า
บ้านเลขที่ 148 หมู่4 ตำบลไก่คำ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
ระยะเวลา
23-ตุลาคม 2554 -21 พถจิกายน 2554

ประโยชน์ที่ได้รับ
การศึกษาโครงงานวิทยาสตร์ในครั้งนี้ คาดว่าจะได้รับประโยชน์ดังนี้คือ
1.ทำให้ทราบยาสีฟันที่พวกเราใช้ในชีวิตประจำวันสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย
2.ทำให้เครื่องเงินเครื่องทอง ของใช้ มีความแวววาว น่าใช้

 

บทที่2

 
ยาสีฟัน  คือ  ผลิตภัณฑ์ สำหรับ ทำความสะอาดฟัน โดยใช้ร่วมกับแปรงสีฟัน  ส่วนใหญ่เป็นครีมเหลวหรือเจลที่บรรจุในหลอด และใช้วิธีการบีบออกมาจากหลอดใส่แปรงสีฟัน เพื่อนำไปแปรงฟัน
เมื่อช่องปากไม่สะอาดมีคราบจุลินทรีย์มาเกาะบนตัวฟัน (หรือที่เรียกว่า ขี้ฟัน) เชื้อจุลินทรีย์จะอาศัยเศษอาหารที่ตกค้างเหล่านี้ โดยเฉพาะแป้งและน้ำตาลย่อยสลายเป็นกรด น้ำตาลจึงมีสภาวะเป็นกรดกัดเนื้อฟันของเรา นี่คือสาเหตุของฟันผุ การแปรงฟันจะช่วยลดความเสี่ยงได้ยาสีฟันที่ใช้นั้นมีส่วนช่วยให้รู้สึกปากสะอาดเพราะมีผงขัด มีฟลูออไรด์สำหรับเคลือบฟัน
ส่วนประกอบของยาสีฟัน

1.
 สารประกอบที่ให้ฟลูออไรด์ เพื่อช่วยป้องกันฟันผุ  เช่น  โซเดียม โมโนฟลูออโรฟอสเฟต (Sodium monofluorophosphate) ,  โซเดียม ฟลูออไรด์ (Sodium fluoride) , แสตนนัสฟลูออไรด์ (Stannous fluoride)
ฟลูออไรด์ (Fluoride) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ช่วยป้องกันฟันผุ โดยทำหน้าที่เคลือบฟัน ป้องกันการกัดกร่อนของกรดที่เกิดจากแบคทีเรีย รวมทั้งกรดในอาหารด้วย ฟลูออไรด์ที่ผสมในยาสีฟันนั้นมีความเข้มข้น 1 กรัมในยาสีฟัน 1 มิลลิลิตร หากได้รับ ฟลูออไรด์ ในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้เกิดฟันตกกระ ในกรณีที่รุนแรง ฟันจะเกิดเป็นรอยสีน้ำตาล ผิวฟันจะขรุขระ เป็นจุดและทำความสะอาดได้ยาก โดยเฉพาะจะเกิดกับฟันแท้เมื่อเด็กบริโภค ฟลูออไรด์ มากเกินไปในช่วงก่อนอายุ 6 ปี
สาเหตุของการบริโภคฟลูออไรด์ในปริมาณมากเกิดได้จากเด็กกินฟลูออไรด์ในปริมาณที่ มากกว่าแพทย์กำหนด ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มมีมากอยู่แล้ว และเด็กชอบรสชาติของยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวัง ไม่ให้เด็กกินหรือกลืนยาสีฟัน ในขณะที่แปรงฟัน
2.
 สารขัดฟัน (Abrasives) ช่วยกำจัดรอยเปื้อนและคราบหินปูน โดยทั่วไปนิยมใช้สารที่มีลักษณะเป็นผงละเอียด ยาสีฟันควรมีสารขัดฟันมากพอที่จะกำจัดรอยเปื้อนและคราบหินปูน แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็อาจจะทำลายเคลือบฟันของเราได้ สารขัดฟันที่ใช้กันได้แก่
แคลเซียมฟอสเฟต (Calcium phosphate)
แคลเซียม โมโนไฮโดรเจนฟอสเฟต (Calcium monohydrogenphosphate)
แคลเซียม โมโนไฮโดรเจนฟอสเฟต ไดไฮเดรต (Calcium monohydrogenphosphate dihydrate)
เตตระโซเดียม ไพโรฟอสเฟต (Tetrasodium pyrophosphate)
ไฮเดรต ซิลิกา (Hydrated Silica)
สารเหล่านี้หากอยู่ในรูปฝุ่นผง จะมีอันตราย ส่วนในสภาพที่ผสมในยาสีฟันเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว (paste) นี้น่าจะถือว่าปลอดภัย
3.  สารลดแรงตึงผิว ที่มีประจุลบ ( Anionic Surfactant )   เช่น  โซเดียมลอริลซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulfate, SLS ) หรือ  สารลดแรงตึงผิว ที่ไม่มีประจุ ( Nonionic Surfactant ) ช่วยทำให้เกิดฟองและไม่ทำให้ยาสีฟันไหลออกจากปากขณะแปรงฟัน
4.
 สารรักษาสภาพความเปียกชื้น (Humectants) ช่วยทำให้ยาสีฟันมีรสสัมผัสของความชื้นไม่แห้ง สารที่ใช้ เช่น กลีเซอรอล (Glycerol),ซอร์บิทอล (Sorbitol)โพรพิลีน ไกลคอล (Propylene glycol) ,  พอลิเอทิลีน ไกลคอล (Polyethylene glycol)
5. สารกันเสีย (Preservatives) ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในยาสีฟัน ผสมอยู่ในยาสีฟันในปริมาณน้อย แต่ก็อาจมีผลต่อผิวหนังทำให้แพ้ได้
6. สารแต่งกลิ่นรส  ( Flavors )  เช่น  กลิ่นรส  Mint ,  Peppermint ,  Spearmint ,  Anise ,  Apricot ,  Banana ,  Bubblegum ,  Cherry ,  Cinnamon ,  Fennel ,  Ginger ,  Lavender ,  Lemon ,  Orange ,  Pine ,  Pineapple ,  Strawberry ,  Raspberry ,  Vanilla
7. ส่วนประกอบ / สารปรับปรุงคุณสมบัติ อื่นๆ  ( Other Ingredients / Additives )  

น้ำส้มสายชู
น้ำส้มสายชู เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่คู่โลกและเป็นที่นิยมบริโภคกันมาแต่โบราณกาล ฝรั่งเรียกน้ำส้มสายชูว่าVinegar ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Vinaigre” อันมีความหมายว่าเหล้าไวน์ที่มีรสเปรี้ยวนั่นเอง
น้ำส้มสายชูเป็นเครื่องปรุงรสสำหรับอาหารในบ้านเราหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน เช่น ก๋วยเตี๋ยว ข้าวขาหมู น้ำจิ้มหลายชนิด ฯลฯ ทำให้น้ำส้มสายชูและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำส้มสายชูเป็นเครื่องปรุงรสประจำบ้าน ร้านค้า และภัตตาคารที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ยังมีความคลางแคลงใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของน้ำส้มสายชูที่วางบริการตามร้านค้าทั่วไป และวิธีการเลือกซื้อน้ำส้มสายชูที่มีคุณภาพเหมาะสมและปลอดภัย
ฉบับนี้ก็เลยชวนท่านผู้อ่านไปศึกษาฉลากน้ำส้มสายชูกันดีกว่า แต่ก็ขอเตือนว่าคราวนี้ไม่ได้เดินสบายๆในซูเปอร์มาร์เก็ตอย่างที่แล้วมา แต่ต้องเดินสำรวจในตลาดสดด้วย เพราะน้ำส้มสายชูบางชนิดไม่มีจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต
กระบวนการผลิต
ข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งท่านผู้อ่านต้องเข้าใจก่อนที่จะเริ่มอ่านฉลากกัน คือ ปฏิกิริยาการเกิดกรดน้ำส้มสายชู ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
 Acetic acid (กรดอะซิติก) โดยปฏิกิริยาเหล่านี้มีหลายขั้นตอน และขั้นตอนเหล่านั้นก็ขึ้นกับชนิดของวัตถุดิบเริ่มต้นที่ใช้ในการผลิตจุลินทรีย์ที่สำคัญในการสร้างกรดอะซิติก คือแบคทีเรียชื่อAcetobacter ซึ่งสามารถเปลี่ยนเอทิลแอลกอฮอล์เป็นกรดอะซิติกได้ ดังนั้น ในการผลิตน้ำส้มสายชูต้องใช้วัตถุดิบเริ่มต้นเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ หรือถ้าไม่ใช้ก็ต้องเปลี่ยนให้เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ก่อน
ในสมัยโบราณน้ำส้มสายชูอาจเกิดจากความบังเอิญ หรือจงใจที่ทำให้เหล้าไวน์เปลี่ยนเป็นน้ำส้มสายชู โดยเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในธรรมชาติอันเป็นที่มาของคำว่า
 Vinaigre ปฏิกิริยาการเกิดน้ำส้มสายชูจากวัตถุดิบที่เป็นข้าว/แป้ง และผลไม้ต้องผลิตให้เป็นเหล้าไวน์เสียก่อน ดังปฏิกิริยาต่อไปนี้
1. ข้าว/แป้ง เชื้อรา น้ำตาล
2.
 น้ำตาล เชื้อยีสต์ เอทิลแอลกอฮอล์
3.
 เอทิลแอลกอฮอล์ เชื้อแบคทีเรีย น้ำส้มสายชู
น้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมักทั้ง 3 ปฏิกิริยา เรียกว่า น้ำส้มสายชูหมัก ที่รู้จักกันดีคือ น้ำส้มสายชูที่หมักจากข้าง (Rice vinegar) นอกจากนี้น้ำส้มสายชูหมักยังรวมถึงชนิดที่หมักจาก 2 ปฏิกิริยา คือ (2 และ 3) ซึ่งวัตถุดิบที่นิยมคือผลไม้ ตัวอย่างเช่น น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ล (Apple cider vinegar) ถ้าผลิตจากขั้นตอนการผลิตขั้นเดียว คือ ปฏิกิริยาที่ 3 มักใช้วัตถุดิบที่เป็นแอลกอฮอล์กลั่นบรรจุเป็นปี๊บจากโรงงานสุรา และเรียกว่าน้ำส้มสายชูกลั่น ซึ่งชื่อนี้ได้มาจากวัตถุดิบที่ใช้คือ แอลกอฮอล์กลั่น มิใช่นำน้ำส้มสายชูที่หมักแล้วไปกลั่นตามที่หลายคนเข้าใจผิดกัน
ชนิดและราคาของน้ำส้มสายชู
พระราชบัญญัติอาหาร ปี พ.ศ.2522
 ได้กำหนดให้น้ำส้มสายชูเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ จึงบังคับว่าต้องมีฉลาก โดยให้ใช้อักษรที่แสดงชนิดผลิตภัณฑ์เป็น  ดังจะเห็นอักษรที่แสดงในเครื่องหมาย อย. เป็นผช และ สช สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศและสั่งเข้าจากต่างประเทศตามลำดับ ทั้งนี้กฎหมายได้แบ่งผลิตภัณฑ์นี้ออกเป็น 3 ชนิด คือ
ก. น้ำส้มสายชูหมัก
ข. น้ำส้มสายชูกลั่น
ค. น้ำส้มสายชูเทียม
ความแตกต่างระหว่างชนิด ก และ ข ได้อธิบายไว้แล้วในขั้นต้น ส่วนน้ำส้มสายชูเทียมทำจากการนำกรดน้ำส้มสายชูเข้มข้นมาผสมกับน้ำเพื่อให้ได้ความเข้มข้นตามต้องการ โดยน้ำส้มสายชูเข้มข้นนี้ไม่ได้ผลิตจากปฏิกิริยาการหมักเหมือนชนิดอื่น แต่ผลิตจากปฏิกิริยาทางเคมี จึงได้น้ำส้มสายชูที่มีความเข้มข้นสูงมาก
แม้ว่าน้ำส้มสายชูจะเป็นเครื่แงปรุงรสที่มีกลิ่นและรสที่รุนแรงจากตัวกรดอะซิติก แต่น้ำส้มสายชูทั้งสามชนิดก็ยังมีความแตกต่างในแง่รสชาติจนสามารถสังเกตรู้ได้น้ำส้มสายชูหมักมีกลิ่น รส ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตามชนิดวัตถุดิบเริ่มต้นที่ใช้ผลิต เช่น ธัญพืช ผลไม้ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เสน่ห์ของผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูที่ผ่านการหมัก คือ สารอื่นๆที่ทำให้เกิดกลิ่นรส ร่วมกับกรดอะซิติกนั่นเอง โดยมากมักมีสีน้ำตาล ซึ่งอาจเกิดจากการหมักและแต่งสีด้วยคาราเมล ประกอบกันส่วนน้ำส้มสายชูกลั่นมีกลิ่นรสที่เป็นเอกลักษณ์ลดลงตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเหมือนกัน คือ แอลกอฮอล์กลั่น ซึ่งปกติชนิดกลั่นจะมีคุณภาพใกล้เคียงกันน้ำส้มสายชูเทียมผลิตจากกรดน้ำส้มเข้มข้นที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ และไม่ได้ผ่านการหมัก จึงมีรสชาติเป็นกรดอะซิติกแท้มากที่สุด ราคาของผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงขึ้นกับเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เป็นหลัก โดยน้ำส้มสายชูหมักมีราคาสูงที่สุด คือประมาณ
 31 บาท/ลิตร ส่วนน้ำส้มสายชูกลั่นมีราคาประมาณ 16-22 บาท/ลิตร และน้ำส้มสายชูเทียมมีราคาต่ำสุดคือประมาณ 6-7 บาท/ลิตร นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำส้มสายชูกลั่นที่สั่งเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงถึง 70 บาท/ลิตร
การเลือกซื้อและเลือกกิน
ราคาที่แตกต่างสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ทำให้ผู้บริโภคต้องรู้จักเลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับการใช้งานเป็นหลัก โดยถ้าต้องการกลิ่นรสของน้ำส้มสายชูที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อใช้ประกอบอาหารบางชนิด เช่น น้ำสลัดชนิดต่างๆ ก็อาจจำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อหาน้ำส้มสายชูหมักชนิดต่างๆ ซึ่งมีทั้งที่ผลิตภายในประเทศและสั่งเข้า ทั้งนี้ขึ้นกับรสนิยมและความพอใจของแต่ละคนด้วยส่วนน้ำส้มสายชูกลั่นมีรสชาติใกล้เคียงกันในทุกยี่ห้อ ดังนั้น จึงอาจเลือกยี่ห้อที่มีราคาต่ำกว่า ทั้งนี้ก็ต้องอ่านเปอร์เซ็นต์ของกรดน้ำส้มสายชูบนฉลาก ถ้าประกอบด้วยชนิดที่มีปริมาณกรดสูงกว่าย่อมให้รสเปรี้ยวมากกว่า อนึ่ง น้ำส้มสายชูกลั่นจากต่างประเทศก็ไม่น่ามีรสชาติที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ภายในประเทศมากนัก และเมื่อเปรียบเทียบในแง่ราคาด้วยแล้ว การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายในประเทศน่าจะคุ้มค่ากว่าน้ำส้มสายชูเทียมมีราคาต่ำที่สุด และแน่นอนกลิ่น รส อื่นๆที่เกิดจากการหมักย่อมต่ำหรือไม่มีเลย เพราะไม่ได้ผ่านการหมัก อย่างไรก็ตาม ก็สามารถใช้ได้ในกรณีที่ผู้บริโภคไม่ได้สนใจในแง่กลิ่น รส อื่นมากนัก ในอาหารหลายชนิดการใช้น้ำส้มสายชูกลั่นหรือเทียมแทบไม่ได้ให้ผลที่แตกต่างกันเลย การเลือกซื้อน้ำส้มสายชูเพื่อบริโภค ก็คงไม่สามารถแนะนำอะไรที่ดีไปกว่าการสังเกตดูเครื่องหมายอย.เป็นหลัก นอกจากนี้ก็ต้องสังเกตลักษณะของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำส้มสายชูกลั่นและเทียมต้องใสเหมือนน้ำและไม่มีตะกอน เนื่องจากน้ำส้มสายชูเป็นกรดจึงควรบรรจุไว้ในขวดแก้ว หรือภาชนะพลาสติกบางประเภทเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง
อนึ่ง จากการสำรวจตลาดสดได้พบว่ามีน้ำส้มสายชูเทียมที่จำหน่ายในรูปของกรดน้ำส้มสายชูเข้มข้นเพื่อให้ผู้บริโภคนำไปผสมน้ำ น้ำส้มสายชูเหล่านี้มิใช่ชนิดที่ใช้เติมอาหารได้ เพราะว่ามีสารปนเปื้อนที่เป็นพิษในปริมาณสูง จึงเหมาะสำหรับการล้างเครื่องมือ หรือใช้ในการก่อสร้าง แต่ก็ถูกจำหน่ายรวมกับน้ำส้มสายชูชนิดอื่นๆด้วย จึงอยากจะให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาช่วยสอดส่องในเรื่องนี้ด้วยสำหรับผู้บริโภคต้องพยายามสังเกตตามรถเข็นหรือร้านค้าว่าใช้น้ำส้มสายชูประเภทที่มีเครื่องหมายอย.หรือไม่ ถ้าเป็นน้ำส้มสายชูหมักหรือกลั่นก็ยังพออุ่นใจว่าปลอดภัย แต่ถ้าเป็นน้ำส้มสายชูเทียมต้องสังเกตให้ดีๆ เมื่อดูแล้วไม่ชอบมาพากลก็อย่าไปเติมน้ำส้มสายชูเลย ผู้เขียนก็ไม่ทราบจะแนะนำอะไรที่ดีกว่านี้ เพราะเห็นที่จำหน่ายกันแล้วก็เข่าอ่อน ไม่นึกว่าจะหละหลวมกันถึงขนาดนี้ ต้องขอให้ผู้บริโภคช่วยเหลือตนเองให้มากๆ
ทางด้านผู้จำหน่ายอาหารก็ควรรับผิดชอบในอาชีพของตน โดยรู้จักเลือกชนิดของน้ำส้มสายชูที่มีเครื่องหมาย อย. และมั่นใจว่าปลอดภัยต่อผู้บริโภค

น้ำมันมะกอก

 
แม้อาหารทางบ้านเราจะไม่นิยมใช้ "น้ำมันมะกอก" ในการประกอบอาหารมากนัก แต่รู้ไหมว่าน้ำมันมะกอกนั้นถือเป็นน้ำมันพืชที่ปลอดภัยต่อร่างกายและให้ประโยชน์มากมายทีเดียว
แต่ก่อนที่จะทราบว่าประโยชน์ของน้ำมันมะกอกมีอะไรบ้างนั้น ผมว่าเรามาทำความรู้จักกับน้ำมันมะกอกกันซักเล็กน้อยก่อนดีกว่า
พูดถึงมะกอกแล้ว คนไทยในบ้านเราก็มักจะนึกไปถึงผลมะกอกที่เอาไปใส่ในส้มตำ หรือไม่ก็ที่ไปจิ้มกินกับเกลือเป็นของกินเล่น น้อยคนที่จะนึกถึงมะกอกของฝรั่งที่มีชื่อว่าโอลีฟ (olive) มะกอกชนิดนี้จัดเป็นพืชโบราณที่มีต้นกำเนิดและประวัติความเป็นมาที่แสนยาว นาน มะกอกกำเนิดขึ้นที่เกาครีเมื่อประมาณ 6,000 พันปีมาแล้ว มีหลักฐานและตำนานมากมายที่กล่าวถึงมะกอกเอาไว้ อย่างเช่นค้นพบพวงมาลัยที่ทำจากกิ่งมะกอกซึ่งวางอยู่บนตัวมัมมี่ระหว่างเทพี อะเธน่า (Athena) และโปสิดอน (Poseidon) เทพเจ้าแห่งท้องทะเล โปสิดอนต่อสู้ด้วยอาวุธที่แข็งแกร่งว่องไว ในขณะที่เทพีอะเธน่าสร้างต้นมะกอกมาเพื่อเป็นตัวแทนของความสว่างไสวในยามค่ำ คืน หรือในตำนานทายาทของพระเจ้าผู้สร้างกรุงโรม ก็ได้เห็นแสงสว่างครั้งแรกที่ใต้ต้นมะกอกมะกอกเป็นต้นไม้ที่ทนทาน อายุยืนมากเป็นหลายร้อยปี ต้นมะกอกจึงเป็นเสมือนต้นไม้แห่งอมตะชีวิต เป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะ ความดีงาม ความเจริญ ฯลฯ ที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวเมดิเตอร์เรเนียนมาแต่โบราณกาลในศตวรรษที่ 15 ชาวสเปนได้นำมะกอกเข้ามาสู่โลกยุคใหม่ แพร่กระจายไปทั่วยุโรปตอนใต้ และตลอดแนวของชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน จนกระทั่งปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมการเพาะปลูกมะกอกได้ขยายตัวขึ้นถึง 30-40 เท่ามะกอกหรือโอลีฟมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Olea europaea เป็นพืชในวงศ์ Oleaceae จัดเป็นผลไม้ที่มีเม็ดในแข็ง หนึ่งลูกจะมีหนึ่งเมล็ด เป็นพืชที่ทนได้ทุกสภาวะอากาศ ดอกมะกอกจะออกช่อในช่วงปลายฤดูหนาว มีดอกเล็กๆสีขาว ผลจะโตเต็มที่ประมาณ 7-8 เดือนหลังออกดอก ลำต้นจะสูงใหญ่กว่ามะกอกไทยบ้านเรามาก สูงตั้งแต่ 3 เมตร จนถึง 18 เมตร ใบเรียวยาวสีเขียวเข้ม มีหลายร้อยพันธุ์ ตัวผลจะมีรสขมและฝาด มีปริมาณสูง พอแก่จัดสีจะเปลี่ยนจากเขียวจนเป็นสีคล้ำจนเกือบดำ ถ้าจะนำไปสกัดเอาน้ำมันต้องเลือกผลแก่จัด แต่ถ้าจะนำมาบริโภคสดหรือนำไปประกอบอาหารต้องใช้มะกอกอ่อนการนำมะกอกมากินสดนั้น มีข้อจำกัดอยู่ว่า ต้องนำมะกอกมากำจัดสารขมที่มีชื่อว่า Oleuropein ออกเสียก่อน มีทั้งนำไปแช่โซดาไฟ (Sodium hydroxide) หรือจะใช้วิธีธรรมชาติที่ง่ายที่สุดก็คือ แช่ในน้ำเกลือเข้มข้นทิ้งไว้ 1-2 วัน แล้วจึงล้างน้ำออก เพียงเท่านี้ก็สามารถกินผลสดของมันได้อย่างเอร็ดอร่อย ผลของมันนอกจากจะนิยมบริโภคสดๆแล้ว ยังนำมาดัดแปลงโดยการสอดไส้พริกพีเมียนโต หรือพริกหยวกลงไปดองกับน้ำเกลืออีกด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มรสชาติไปอีกแบบหนึ่ง รสชาติจะออกเค็ม เผ็ดแบบปะแล่มๆ มะกอกแบบนี้พบวางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ ผู้ผลิตจะนำเอามะกอกเขียวที่ยังไม่แก่จัดมาเข้าเครื่องดึงเมล็ดออก แล้วก็ยัดพริกที่ปอกเปลือกแล้วลงไป พริกที่ใช้ส่วนมากเป็นทางแถบเมืองหนาว ซึ่งไม่เผ็ดมาก ที่นิยมก็คือพริกพีเมียนโต และพริกหยวกสีแดง จากนั้นก็นำไปบรรจุขวดดองน้ำเกลือ ผลสดซึ่งผ่านการแปรรูปเหล่านี้นิยมนำมากินกับสลัด ตกแต่งจานอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารโดยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆใส่ลงไปเพื่อเพิ่มความหอมและรส ให้อาหาร เช่น หั่นแว่นตามขวางวางบนคานาเป้ หรือแซนด์วิชเปิดหน้า หรือไม่ก็กินเล่นตามชอบ
มะกอกจัดเป็นผลไม้ที่มีน้ำมันมากที่สุด ในผลมะกอกที่แก่จัด 100 กรัม ให้น้ำมันถึง 20-30กรัม แต่กระบวนการหีบเอาน้ำมันจากผลมะกอกมิใช่เป็นเรื่องง่ายๆ ต้องผ่านหลายขั้นตอนอย่างพิถีพิถัน เริ่มตั้งแต่การคัดและเก็บผลด้วยคนงาน เครื่องจักรทำแทนไม่ได้เลย เพราะผลมะกอกแก่ไม่พร้อมกัน อีกทั้งต้องระมัดระวังมิให้ผลเกิดเสียหายในตอนเก็บและขนส่งไปโรงงานการคั้นน้ำมันมะกอกที่ดีเป็นวิธีการหีบเย็น (cold press) แบบโบราณ เริ่มด้วยการโม่ผลมะกอกให้เนื้อแหลก แล้วเอาไปเข้าเครื่องหีบน้ำมันออกโดยไม่ใช้ความร้อนเข้าช่วยเลย น้ำมันที่ไหลออกมาจากการหีบครั้งแรกถือเป็นน้ำมันคุณภาพดีที่สุด มีความบริสุทธิ์เพราะเป็นน้ำมันแรก การหีบครั้งต่อๆไปต้องใช้แรงมากขึ้น น้ำมันที่ได้มีคุณภาพด้อยลง ทั้งหมดนี้ใช้เครื่องมือทำจากหินและแรงคนเป็นหลักปัจจุบันมีโรงงานกลั่นน้ำมันมะกอกสมัยใหม่ที่ใช้ความร้อนและเครื่องจักรใน การโม่และกลั่นน้ำมันมะกอก แต่น้ำมันมะกอกแบบนี้มีคุณภาพไม่ดีเท่าแบบวิธีหีบเย็นแบบเก่า หลังจากหีบเอาน้ำมันมะกอกได้แล้ว ก็ต้องเอามาเก็บไว้ในห้องใต้ดินที่มีอุณหภูมิเย็นพอเหมาะเป็นเวลาหลาย สัปดาห์ เพื่อให้เศษผงต่างๆจมตัว จากนั้นจึงนำมากรองและบรรจุขวดขาย
ประเภทของน้ำมันมะกอก
สภาน้ำมันมะกอกนานาชาติได้แบ่งชนิดน้ำมันมะกอกตามคุณภาพ จากปริมาณกรดในน้ำมัน และนิยมเรียกชื่อตามความ "บริสุทธิ์" ดังนี้คือ

ชนิดบริสุทธิ์พิเศษ Extra Virgin Olive Oil มีคุณภาพเยี่ยมที่สุด ประมาณความเป็นกรดต่ำกว่า 1% น้ำมันที่ออกมาบริสุทธิ์จริงๆ รสและกลิ่นมะกอกแรง
ชนิดบริสุทธิ์ดีมาก Superfine Virgin Olive Oil มีความเป็นกรดต่ำไม่เกิน 1.5%
ชนิดบริสุทธิ์ดี Fine Olive Oil มีความเป็นกรดต่ำระหว่าง 1.5 ถึง 3 %
ชนิดบริสุทธิ์ Virgin or Pure Olive Oil ความเป็นกรดไม่เกิน 4% (หากเกินก็กินไม่ได้แต่ใช้เป็นน้ำมันจุดตะเกียงได้) โดยทั่วไปกลิ่นมะกอกจะมีเพียงอ่อนๆ
โดยทั่วไปน้ำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์พิเศษ (extra virgin) มีสีออกเขียวกว่าชนิดคุณภาพต่ำลงมา และถ้าจะให้ดีต้องได้มาด้วยวิธี cold press น้ำมันมะกอกคุณภาพดี ราคาแพงอย่างนี้ ควรเอามาปรุงเป็นน้ำสลัด หรือเครื่องปรุงรสของอาหารอื่น ไม่เหมาะนำมาเป็นน้ำมันสำหรับทอดหรือผัดอาหาร ซึ่งอาจใช้น้ำมันมะกอกเกรดต่ำลงมาได้ อนึ่ง น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์พิเศษอย่าง cold press อาจเสียรสไปได้หากถูกความร้อนทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่า 60องศาเซลเซียส
นอกจากค่าของกรดที่เป็นตัวกำหนดคุณภาพของน้ำมันมะกอกแล้ว รสชาติและกลิ่นของน้ำมันมะกอกยังแปรไปตามเขตที่ปลูก น้ำมันมะกอกจากที่เดียวกัน ก็อาจมีกลิ่นและรสชาติแตกต่างกันไปได้ ในทางปฏิบัติการซื้อขายน้ำมันมะกอกแบบขายส่งจึงต้องมีการชิมก่อนเหมือนการ ชิมไวน์อย่างไรอย่างนั้น
ส่วนประเทศที่ผลิตน้ำมันมะกอก แต่ละประเทศจะมี Character ของตัวเอง เช่น
a) Greece 
จะมีความข้นกว่า (Heavy Texture)
b) Spain 
จะมีกลิ่นและรสชาติที่แรงกว่าประเทศอื่น
c)
 ฝรั่งเศส (Provencal) จะมีกลิ่นหอมหวาน (Fruity)
d) Italy 
จะคล้ายกับ Spain จะมีกลิ่นที่เด่นกว่า เหมือนกัน
ต่ทั้งนี้ในฉลากของน้ำมันมะกอก จะมีชื่อของพันธุ์มะกอกที่ใช้ทำน้ำมันอยู่ ให้มองหา Green Provencal หรือ Tuscan Olives เพราะนี่คือมะกอก พันธุ์ดีที่สุด หรือถ้าอ่านไม่เจอ ก็เลือกตามความต้องการจากประเทศผู้ผลิตนอกเหนือจากน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์แล้ว ในท้องตลาดยังมีน้ำมันมะกอกผสม คือผสมกับน้ำมันพืชอื่นๆ ในทางปฏิบัติมีระเบียบว่าจะต้องมีส่วนผสมน้ำมันมะกอกกลั่น 5-10% จึงจะเรียกชื่อเป็นน้ำมันมะกอกผสมได้ในทางปฏิบัติ การเลือกซื้อน้ำมันมะกอกก็เลือกตามระดับความบริสุทธิ์ที่กล่าวไปแล้ว ทางที่ดีควรเลือกแบบ cold press เรื่องรสชาติอาจแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและแหล่งผลิต ก็ต้องลองซื้อมากินดูจนได้ที่ถูกใจ ข้อคำนึงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือราคา เนื่องจากน้ำมันมะกอก extra virginราคาค่อนข้างสูง จึงควรเลือกใช้เฉพาะทำน้ำสลัดหรือปรุงรสอาหารเท่านั้น ยิ่งสำหรับผู้ที่เริ่มลองใช้น้ำมันมะกอกใหม่ ยังไม่ชินกับกลิ่นน้ำมันมะกอกแรงๆ ก็น่าจะลองใช้ชนิดที่คุณภาพต่ำลงมา เพราะนอกจากกลิ่นมะกอกอ่อนลงแล้ว ส่วนราคายังถูกอีกด้วย โดยเฉพาะถ้าทำอาหารทอด หรืออาหารผัด ก็จะเหมาะพอดีกันน้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันทำอาหารที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพ แต่รสนิยมอาหารเป็นเรื่องวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น เฉพาะสังคม การรับของดีจากวัฒนธรรมอื่นจึงต้องผ่านการเลือกและประยุกต์ใช้โดยคนใน วัฒนธรรมนั้นๆ ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันมะกอก จึงเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการพิจารณาประยุกต์ใช้ ตามความเหมาะสมของวิถีครัวไทยและเงื่อนไขของแต่ละคน
ประโยชน์ของน้ำมันมะกอก
ประโยชน์ของน้ำมันมะกอกมีทั้งการช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ทำหน้าที่เหมือนยาระบายอ่อนๆ ช่วยทำให้ระบบดูดซึมแร่ธาตุและวิตามินทำงานดีขึ้น และน้ำมันมะกอกยังกระตุ้นการเก็บรักษาแร่ธาตุของกระดูก เพื่อป้องกันการสูญเสียแคลเซียมในกระดูกของผู้สูงอายุได้ด้วย อีกทั้งยังช่วยให้อาหารมีรสชาติอร่อย ช่วยให้เจริญอาหารได้อีกอย่างหนึ่ง

ประโยชน์ของน้ำมันมะกอกที่ให้ผลดีต่อสุขภาพนั้นมีหลายประการ สรุปได้ดังนี้
การหมุนเวียนของโลหิต น้ำมันมะกอกช่วยป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (arteriosclerosis) รวมทั้งภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลว หัวใจวาย ไตวาย และเส้นเลือดใน สมองแตก
ระบบย่อย น้ำมันมะกอกช่วยให้ระบบการทำงานของส่วนต่างๆ ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระเพาะอาหาร ตับอ่อน ลำไส้ และถุงน้ำดี ทั้งนี้ยังช่วยป้องกันการก่อตัวของนิ่วอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลบ่งชี้ว่าน้ำมันมะกอกช่วย บรรเทาอาการกระเพาะอักเสบ แผลในกระเพาะ และยังเป็นยาระบายอ่อนๆ
ผิวหนัง น้ำมันมะกอกช่วยปกป้องหนังกำพร้า ช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น ซึ่งเกิดจากวิตามินอี และ สารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันมะกอกนั่นเอง นอกจากนี้ยังใช้ได้ผลดีในการป้องกันโรคผิวหนังและลดริ้วรอยเหี่ยวย่น ระบบต่อมไร้ท่อ น้ำมันมะกอกช่วยให้ระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolic function) ภายในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพน้ำมันมะกอกได้กลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการป้องกันและ
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานจากการศึกษาล่าสุดพบว่าระดับกลูโคสของผู้ที่มีสุขภาพ ดีจะลดลง12%เมื่อรับประทานน้ำมันมะกอก  ระบบกระดูก น้ำมันมะกอกช่วยในการเสริมสร้างกระดูก และช่วยให้ร่างกายของคนเรามีประสิทธิภาพในการดูดซึม แร่ธาตุและแคลเซี่ยมได้ดี และสามารถป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคมะเร็ง น้ำมันมะกอกช่วยป้องกันเนื้องอกที่เกิดกับอวัยวะบางส่วน (เต้านม ต่อมลูกหมาก ลำไส้ใหญ่ ปีกมดลูก) ทั้งนี้เพราะกรดไขมันที่มีอยู่ในน้ำมันมะกอกนั้นช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ และช่วยต่อต้านการก่อตัวของ ติ่งเนื้อในอวัยวะต่างๆ ที่กล่าวมาสารกัมมันตภาพรังสี ภายหลังจากที่มีการค้นพบว่าน้ำมันมะกอกช่วยให้ร่างกายสามารถต้านทานสารกัมมันตภาพรังสีได้ น้ำมันมะกอกได้รับบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของอาหารสำหรับนักบินอวกาศอาหารเด็กอ่อน ด้วยสารประกอบในน้ำมันมะกอกและคุณสมบัติในการช่วยย่อยอาหาร จึงนับได้ว่าน้ำมันมะกอกเป็น ไขมันธรรมชาติที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำนมมารดามากที่สุดชราภาพการที่เรารู้จักหาวิธีการเพื่อต่อต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของเราเพื่อป้องกันภาวะความเสื่อมถอยของสุขภาพอันเนื่องมาจากอายุที่เพิ่มขึ้นนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งจากการค้นคว้าวิจัยเราได้ทราบว่าน้ำมันมะกอกมีคุณสมบัติในการต่อต้านภาวะความเสื่อมถอยของสมองและยังช่วยยืดอายุของเราให้ยืนยาวขึ้นอีกด้วยภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการค้นคว้าวิจัยพบว่า น้ำมันมะกอกนั้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ในขณะเดียวกันจะไม่ทำให้คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ลดระดับลง
การนำน้ำมันมะกอกมาใช้
จะใช้น้ำมันมะกอกปรุงอาหารได้อย่างไร
1. นำมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำสลัด หรือน้ำจิ้ม
2.
 นำมาใช้ในการผัด ชนิดที่ใช้น้ำมันน้อย เช่นผัดผักเร็ว ๆ ผัดกระเพรา มักกะโรนี สปาเก็ตตี หรือ พาสต้า
3.
 นำมาใช้ในการหมักเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ ก่อนที่จะนำไปอบจะทำให้เนื้อนุ่มขึ้น
4.
 ใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอด จะช่วยให้อาหารไม่อมน้ำมันเนื่องจากน้ำมันมะกอกจะให้ความร้อนสูง ทำให้อาหารสุกทั่วถึงอย่างรวดเร็ว ไม่สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย

 


 
บทที่3

วัสดุอุปกรณ์
1.ยาสีฟัน   2.น้ำส้มสายชู   3.น้ำมันมะกอก   4.กระบอกขวดน้ำ   5.ไม้ที่ไว้คน
6.ถาด       7.ตลับ

วิธีการดำเนินงาน

1.นำยาสีฟันไปตากแดด
2.นำยาสีฟันที่ตากแดด มาใส่ในกระบอกขวดน้ำที่ตัดไว้
3.นำน้ำส้มสายชูผสมกับยาสีฟันและคนให้เข้ากัน การเติมน้ำส้มสายชูไม่ควรใส่มากไปเพราะจะทำให้ครีมนั้นเหลว ซึ่งควรใส่พอประมาณ
4.นำน้ำมันมะกอกใส่ จากนั้นคนให้เข้ากัน (อย่าให้เหลวมากเกินไป)
5.พอเนื้อครีมเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว นำใส่ตลับที่เตรียมไว้ เราก็จะได้ครีมขัดเครื่องเงินและเครื่องทองเหลือง


 
บทที่4

วิธีใช้ผลิตภัณฑ์
        ใช้สำลีหรือผ้านุ่มแตะครีมขัดเครื่องเงินเครื่องทองเสร็จแล้วใช้ผ้านุ่มสะอาดลูบเบา ๆ แค่นี้เครื่องเงินจะแวววาวสดใสเหมือนใหม่อีกครั้ง

ประโยชน์ของชิ้นงาน 
 1.ความประหยัดและส่วนผสมล้วนเป็นส่งรอบตัว 
  2.มีประสิทธิภาพเท่ากับครีมที่ซื้อมา 
 3.เป็นส่วนผสมที่มีสารเคมีไม่รุนแรง


 
บทที่5

สรุปผล
          เราสามารถนำสิ่งที่มีส่วนผสมแตกต่างกันมารวมกันเพื่อทำความสะอาดส่วนที่เป็นเงิน ทองเหลืองได้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ และประสิทธิภาพเท่าเทียมกับวิกครีมที่มีขายตามท้องตลาด และลดค่าใช้จ่ายได้ ต้นทุนในการผลิตก็ไม่แพง


 
อ้างอิง
 http://www.lcc.ac.th/forum/board_posts.asp?FID=176
http://naichef.50megs.com/olive.html
http://www.pantip.com/cafe/food/topic/D6914864/D6914864.html
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=139.msg1069
http://www.pantown.com/board.php?id=10764&area=4&name=board11&topic=31&action=view