Computer

รายวิชาคอมพิวเตอร์

เพลงมาร์ชโรงเรียนอำนาจเจริญ

ลิขสิทธิ์ Software

/

ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ คือ   "สิทธิในการใช้งานซอฟต์แวร์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยินยอมให้ผู้ใช้ปลายทางใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ
รู้จักการละเมิดลิขสิทธิ์

การทำสำเนาโดยผู้ใช้งาน (Enduser Copy)
                    การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในกลุ่มผู้ใช้งาน ได้แก่การติดตั้งซอฟต์แวร์ลงในคอมพิวเตอร์โดยไม่มีลิขสิทธิ์ หรือติดตั้งเกินจำนวนลิขสิทธิ์ รวมทั้งการทำสำเนาแจกจ่ายระหว่างผู้ใช้งานแม้ว่าจะเป็นการทำสำเนาจากซอฟต์แวร์ต้นฉบับของแท้ ก็จัดว่าเป็นการละเมิดประเภทหนึ่ง เนื่องจากมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ หรือการใช้งานซอฟต์แวร์มากกว่าจำนวนที่ได้รับสิทธิ การกระทำเช่นนี้มิเพียงแต่เสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีทางกฎหมายเท่านั้น หากแต่ยังเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส และความเสียหายของข้อมูล ฯลฯ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายอันประเมินค่ามิได้ต่อธุรกิจของท่านผู้บริหารองค์กร หรือผู้รับผิดชอบทางด้านไอทีขององค์กรจึงไม่ควรละเลยต่อการบริหารจัดการซอฟต์แวร์ นโยบายการใช้งานซอฟต์แวร์ในองค์กร และการตรวจสอบการใช้งานซอฟต์แวร์ในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ
   การติดตั้งซอฟต์แวร์ลงในฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Loading)
                    โดยปกติผู้ค้าคอมพิวเตอร์จะขายเครื่องที่มีการติดตั้งซอฟต์แวร์ไว้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบปฏิบัติการ เช่น Windows XP Home, Windows XP Professional แต่ผู้ค้าคอมพิวเตอร์บางรายกลับติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ลงในเครื่องที่จำหน่ายให้กับลูกค้าเพื่อเป็นการลดต้นทุน ในกรณีนี้ผู้ซื้อมักไม่ได้รับ CD และคู่มือการใช้งาน รวมทั้งใบรับรองสินค้าของแท้ หรือ COA (Certificate of Authenticity) ปัจจุบัน พบว่า ผู้จำหน่ายมีเทคนิคและวิธีการละเมิดที่แตกต่างกัน เช่น ทำหน้าที่เป็นผู้ติดตั้งซอฟต์แวร์ให้ โดยแนะนำให้ลูกค้าซื้อซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยตนเองจะให้บริการติดตั้งเท่านั้น หรือ แนะนำให้ลูกค้ารับเครื่องเกปล่าไปก่อน และส่งเจ้าหน้าที่ไปติดตั้งที่บ้านหรือที่ทำงานของลูกค้าภายหลัง
   การปลอมแปลงสินค้า (Counterfeiting)
                      ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์บางรายถึงกับผลิต CD และคู่มือปลอมจำหน่าย โดยจัดทำบรรจุภัณฑ์เหมือนกับสินค้าจริงทุกประการ เพื่อเป็นการหลอกลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าได้สินค้าของแท้ หากท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ในราคาถูกจนไม่น่าเชื่อ กรุณาตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นสินค้าของแท้ และเรียกหาใบรับรองสินค้าของแท้ หรือ COA (Certificate of Authenticity) พร้อมใบอนุญาตการใช้งาน หรือ EULA (End User License Agreement) ซื้อสินค้าจากตัวแทนจำหน่ายที่เชื่อถือได้เท่านั้น เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง เก็บเอกสารใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐานการซื้อสินค้าเสมอ *การผลิต CD-ROM ที่รวบรวมโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายประเภทไว้ในแผ่นเดียว คือตัวอย่างหนึ่งของสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เช่นเดียวกัน
  การละเมิดลิขสิทธิ์ Online (Internet Piracy)
                     ลักษณะที่เกิดขึ้นมากในปัจจุบันคือการ Download ซอฟต์แวร์ผ่าน Internet โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์เหล่านี้ไม่ใช่ Shareware ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์มักเป็นผู้เสนอให้ใช้ฟรี หรือมีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยและมักไม่มีข้อจำกัดในการใช้งาน ไมโครซอฟท์มีซอฟต์แวร์ให้ Download หลายประเภททั้งในส่วนส่งเสริมการขาย ทดลองใช้งาน หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้สนับสนุนการทำงานของซอฟต์แวร์อื่น ท่านควรศึกษา EULA ที่มาพร้อมซอฟต์แวร์เหล่านี้ให้แน่ใจเรื่องสิทธิการใช้งานให้เข้าใจเพื่อผลประโยชน์ของท่านเอง
   การขายหรือใช้ลิขสิทธิ์ผิดประเภท
                      ในบางกรณีผู้ค้าซอฟต์แวร์จำหน่ายซอฟต์แวร์ผิดประเภทให้กับลูกค้า ทำให้ผู้ซื้อตกอยู่ในความเสี่ยงทางกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
  1. สินค้า Academic Edition (AE) ซึ่งเป็นสินค้าที่ออกแบบมาเพื่อองค์กรการศึกษา และนักศึกษาด้วยราคาต่ำเป็นพิเศษ โดยจะมี ฉลาก "Academic Product" แสดงไว้ แต่มีการนำมาจำหน่ายให้กับองค์กรทั่วไป
  2. สินค้า NFR (Not for Resale) ซึ่งเป็นสินค้าที่มักนำมาแจกจ่ายในกรณีที่เป็นการส่งเสริมการขาย หรือตัวอย่าง มิได้มีไว้เพื่อจำหน่าย และ EULA ของสินค้าเหล่านี้จะระบุคำว่า "Not for Resale" ไว้ด้วย
  3. สินค้า OEM ซึ่งเป็นสินค้าที่ผู้ค้าคอมพิวเตอร์ควรมอบให้กับผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ แต่กลับนำมาแยกจำหน่ายต่างหาก สังเกตได้ง่ายเนื่องจากบรรจุภัณฑ์จะระบุคำว่า "For Distribution Only With New PC Hardware"
  4. สินค้า Fulfillment ซึ่งเป็นสินค้าที่จำหน่ายให้กับลูกค้าที่ซื้อลิขสิทธิ์จำนวนมาก เช่น Select, Open, Enterprise Agreement เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ซื้อลิขสิทธิ์ บรรจุภัณฑ์จะระบุคำว่า "Microsoft Easy Fulfillment" หรือ "Microsoft Worldwide Fulfillment" สินค้าเหล่านี้ไม่มีลิขสิทธิ์มาด้วยเนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้ในการติดตั้ งสำหรับผู้ที่มีลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ถูกต้องแล้ว
คำแนะนำ:
ในการซื้อลิขสิทธิ์ทุกครั้ง ควรศึกษาประเภทของลิขสิทธิ์ ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการใช้งาน และลักษณะบรรจุภัณฑ์ให้เข้าใจ และเลือกซื้อจากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ อย่าตัดสินใจซื้อซอฟต์แวร์เนื่องมาจาความจูงใจ ในด้านราคา เพราะอาจเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าในระยะยาว
               

      แบบทดสอบ เรื่อง ลิขสิทธิ์ Software รายวิชาคอมพิวเตอร์  









  • 5. ข้อใดเป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์ software

6. ใครไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
  •  
  •  
  •  
  •  
  • 7. ใครทำการละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง

  •  
  •  
  •  
  •  



9. การละเมิดลิขสิทธ์โดยตรงถ้ามีการทำเพื่อการค้าขายจะมีโทษทางกฎหมายอย่างไรบ้าง

 


10. ทำไมต้องให้ความสำคัญกับการละเมิดลิขสิทธิ์